การต่อสายไฟพัดลมฟาร์ม พัดลมโรงงาน ทั้งไฟ 1 เฟส และไฟ 3 เฟส

วิธีต่อสายไฟพัดลมอุตสาหกรรม แบบ 1 เฟส และ 3เฟส ?


อุปกรณ์ที่ควรเตรียม

  • พัดลมอุตสาหกรรม พร้อมสายไฟแบบเปลีอย
  • เซอร์กิต เบรกเกอร์ สำหรับต่อไฟ 1 เฟส / เซอร์กิต เบรกเกอร์ สำหรับต่อไฟ
  • เฟส 3. สายไฟพร้อมขั้วปลั๊กเสียบ
  • ไขควง

 

การต่อไฟสำหรับพัดลมอุตสาหกรรม ระบบไฟฟ้า 1 เฟส ( 220V.)

ระบบไฟฟ้า 1 เฟสจะมีทั้งหมด 2 สาย

  • สาย N (สีฟ้า)
  • สาย L (สีน้ำตาล)

    ระบบไฟฟ้า 1 เฟส (Single phase) เป็นระบบไฟที่ใช้กันในบ้านเรือนทั่วไปเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ มีการจ่ายไฟที่เหมาะสมต่อหลอดไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้า ระบบไฟ 1 เฟส จะให้แรงดันไฟฟ้าที่ 220V ความถี่ไฟฟ้าที่ 50Hz. มีสายจำนวน 2 เส้น เส้นที่มีกระแสไฟฟ้าเรียกว่าสายไฟ หรือสายเฟส หรือเรียกว่าสายเคอร์เรนต์ (current line) สามารถวัดได้โดยการนำไขควงวัดไฟวัดส่วนอีกเส้นจะเป็นสายที่ไม่มีกระแสไฟเรียกว่าสายนิวทรัล (neutral line) หรือสายศูนย์ แต่เมื่อเวลาใช้งานกับหลอดไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าจำเป็นต้องใช้ร่วมกันทั้ง 2 สายเพื่อให้กระแสไฟฟ้าครบวงจร

    และ สายกราวด์ (สีเขียว/เหลือง) จะเห็นได้จากปลั๊กไฟตามบ้านที่มีช่องเสียบอยู่ 2 ช่อง และมีปลั๊กที่มี 3 ช่องเป็นระบบไฟ 1 เฟสเหมือนกัน แต่ที่มี 3 ช่อง เนื่องจากอีกช่องหนึ่งเป็นช่องที่ต่อกับสายดิน (ground) เพื่อให้กระไฟฟ้าไหลลงดินเมื่อเกิดไฟรั่วเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานและอุกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ระบบสายดินนี้จะเป็นปลั๊กแบบ 3 ขาซึ่งในต่างประเทศถือเป็นระบบมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไป

 

การต่อไฟสำหรับพัดลมอุตสาหกรรม ระบบไฟฟ้า 3 เฟส ( 380V.)

ระบบไฟฟ้า 3 เฟสจะมีทั้งหมด 3 สาย

  • สาย L1 (สีน้ำตาล)
  • สาย L2 (สีดำ)
  • สาย L3 (สีทา)

 ระบบไฟฟ้า 3 เฟส นอกจากจะใช้ในโรงงานแล้ว ยังสามารถนำไปใช้งานกับที่พักอาศัยได้ แต่ต้องเป็นที่พักอาศัยที่มีขนาดใหญ่ ระบบไฟ 1 เฟส อาจไม่เพียงพอจึงจำเป็นต้องใช้ระบบไฟ 3 เฟส แต่การใช้ระบบไฟ 3 เฟส จะมีขั้นตอนในการขอติดตั้งยุ่งยากและค่าใช้จ่ายต่างๆ ค่อนข้างสูง เพราะจะต้องจ่ายทั้งค่าประกันไฟฟ้าและค่าติดตั้ง ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูงในตอนต้น แต่ในระยะยาวจะสามารถช่วยประหยัดค่าไฟได้มากกว่าการใช้ระบบไฟ 1 เฟส

    การนำระบบไฟฟ้า 3 เฟสมาใช้งาน ไม่สามารถนำมาใช้ได้โดยตรง แต่จะต้องมีการแปลงระบบไฟ 3 เฟส ให้เป็นระบบไฟ 1 เฟสก่อน กล่าวคือการแยกระบบไฟ 3 เฟสออกเป็น 3 ชุดชุดละ 1 เฟส แล้วกระจายไปตามจุดที่มีการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เน้นเฉลี่ยการใช้ไฟในแต่ละส่วนที่เท่าๆกัน ทำให้กระแสไฟมีความสมดุล สามารถใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า และการให้แสงสว่างภายในบ้านได้อย่างเหมาะสม การกระจายจุดเฉลี่ยการใช้ไฟฟ้าช่วยให้ประหยัดค่าไฟ เนื่องจากเฟสไฟน้อยจึงไม่ต้องเสียค่าไฟในอัตราที่สูง

 

มาตรฐานสายไฟใหม่ มอก.11-2553 เป็นอย่างไร

มาตรฐานสายไฟใหม่ มอก.11-2553 ที่ประกาศเป็นมาตรฐานบังคับตามพระราชกฤษฎีกา ที่กำหนด ให้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสายไฟฟ้าหุ้มฉนวนพอลิไวนิลคลอไรด์ แรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เกิน 450/750 โวลต์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก.11-2553 (ซึ่งของเดิม เป็น มอก.11-2531) ซึ่งมีการ เปลี่ยนแปลงพอจะสรุปได้ดังนี้

  1. มาตรฐาน มอก.11-2553 นี้ส่วนใหญ่อ้างอิงมาตรฐานสายไฟมาจาก IEC Standards 60227 การแบ่งชนิดของสายไฟฟ้าจะแบ่งตามมาตรฐาน IEC เป็นรหัสตัวเลข 2 ตัว แต่เนื่องจากป้องกันความ สับสน ผู้ผลิตจะระบุชื่อเดิมไว้ให้เช่น60227 IEC 01 (THW
  2. สีของฉนวนสายไฟจะกำหนดใหม่โดยเรียงจาก เฟสA, B, C, N, G ดังนี้น้ำตาล ดำ เทา ฟ้า เขียวแถบเหลือง ตามมาตรฐาน IEC จากมาตรฐานเดิมที่เป็น ดำ แดง นํ้าเงิน ขาว(เทา) เขียว การใช้งานจะต้องเพิ่มความระมัดระวังโดยเฉพาะโครงการที่มีระยะเวลายาว หรืองานต่อเติมซ่อมแซมที่จำเป็นต้องใช้สายทั้ง2มาตรฐานในงานเดียวกันเช่นสายVAFที่เดิมใช้สีเทาเป็นสายนิวทรัล แต่ต่อไปนี้สายเส้นสีเทาจะเป็นสายเฟสที่มีไฟแล้ว ดังนั้นการทำ เครื่องหมายจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่
  3. กำหนดแรงดันใช้งาน 2ค่าU๐/Uไม่เกิน450/750โวลต์มีผลทำ ให้สายไฟฟ้าบางชนิดเช่นสายVAF ที่ตามมาตรฐานเดิมไม่สามารถนำมาใช้กับระบบ3 เฟส4สาย230/400 โวลต์ได้แต่มอก.11-2553 ให้ใช้ได
  4. อุณหภูมิที่ใช้งาน กำหนดไว้2 ค่าคือ70 และ90 องศาเซลเซียส ขณะที่มาตรฐานเดิมกำหนดไว้ 70 องศาเซลเซียสค่าเดียว จากการเปลี่ยนแปลงข้างต้น วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ได้ ปรับปรุงมาตรฐานการติดตั้งให้สอดคล้องกับสายไฟฟ้ามาตรฐานใหม่โดย ซึ่งมีข้อแตกต่างจากมาตรฐาน เดิมพอสมควร

การคำนวนหาขนาดสายไฟฟ้าเพื่อนำ ไปใช้งานควรจะพิจารณาตามขั้นตอนดัง ต่อไปนี้

  1. คำนวนโหลดหาค่ากรพแสที่ใช้งานน และกำหนดขนาดเครื่องป้องกัน
  2. พิจารณาชนิดของสายไฟฟ้าจำนวนตัวนำกระแส2เส้นหรือ3เส้น(1เฟสหรือ3เฟส)ลักษณะของ สายไฟเป็นแบบแกนเดียวหรือหลายแกน ล้วนแต่มีผลต่อการเลือกใช้ตารางกระแสไฟฟ้าทั้งสิ้น
  3. พิจารณาวิธีการติดตั้งซึ่งแบ่งเป็น7 กลุ่ม(มาตรฐานเดิมมี5 กลุ่ม) ที่น่าสังเกตุคือ การเดินสายร้อย ท่อภายในฝ้าเพดานหรือผนังทนความร้อน มีค่ากระแสแตกต่างจากการเดินสายร้อยท่อลอยหรือ ฝังในคอนกรีต ตัวอย่างเช่น ถ้าโหลด3 เฟส คำนวณขนาดเครื่องป้องกันได้100 แอมแปร์กรณี ที่เลือกใช้สายไฟฟ้า60227IEC01(THW) เดินสายร้อยท่อลอยเกาะผนังหรือเพดาน จะต้องใช้สาย  ขนาด50 ตร.มม. แต่ถ้าเป็นการเดินสายร้อยท่อภายในฝ้าเพดาน จะต้องใช้สายขนาด70 ตร.มม.
  4. พิจารณาตัวคูณปรับค่า เนื่องจากอุณหภูมิโดยรอบ ซึ่งกำหนดที่40 องศาเซลเซียสในกรณีทั่วๆ ไป และ 30 องศาเซลเซียสในกรณีฝังดิน
  5. พิจารณาตัวคูณปรับค่า เนื่องจากกลุ่มวงจรในกรณีที่มีตัวนำกระแสมากกว่า1 วงจร โดยพิจารณา วงจร1 เฟส2สายนับเป็น1 วงจร วงจร3 เฟส3สายหรือ4สายนับเป็น1 วงจร ในกรณีนี้ส่วนใหญ่ จะใช้ในการเดินสายในรางเคเบิล (cable tray) ที่มีการปรับปรุงแก้ไข ที่สำคัญคือ ไม่อนุญาตให้ ใช้สายไม่มีเปลือกติดตั้งในรางเคเบิล และในมาตรฐานเดิมกำหนดให้สายในรางเคเบิลจะต้องไม่ เล็กกว่า 50 ตร.มม. มาตรฐานใหม่ยอมให้ถึงสายขนาด25 ตร.มม.
  6. ขนาดกระแสจากการปรับค่าในขัอ 4 และข้อ 5
  7. หาขนาดสายไฟฟ้าจากตารางที่ถูกเลือกในข้อ 3 มาตรฐานใหม่นี้ในระยะแรกยังไม่มีความคุ้นเคยอาจสับสนอยู่บ้าง คงต้องค่อยๆ พิจารณาตามลำดับ ไปก่อน หลังจากนั้นคงคุ้นเคยเหมือนมาตรฐานเดิม ในส่วนรายละเอียดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฉบับปรับปรุงใหม่ของ วสท.

เคล็ดลับจากการติดตั้งพัดลมอุตสาหกรรมแบบผู้เชี่ยวชาญที่จะทำให้คุณราบรื่นมากขึ้น มีข้อดีอย่างไร:

  1. เพิ่มประสิทธิภาพและความสะดวกสบายสูงสุดในพื้นที่ทำงานของคุณ
  2. พัดลมอุตสาหกรรม ช่วยควบคุมอุณหภูมิ การไหลเวียนของอากาศ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่น่าพึงพอใจสำหรับพนักงาน

อย่างไรก็ตาม การติดตั้งพัดลมอุตสาหกรรมอาจเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนหากไม่ดำเนินการอย่างถูกต้อง เพื่อช่วยคุณในการดำเนินการนี้ เราได้รวบรวมเคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ ต่างๆ เช่น การเลือกประเภทของพัดลมที่เหมาะกับความต้องการของคุณ กำหนดขนาดพัดลมที่เหมาะสม การต่อสายไฟให้ถูกต้อง การจัดวางพื้นที่ ข้อควรระวังด้านความปลอดภัยที่จำเป็นระหว่างการติดตั้ง เพื่อการติดตั้งพัดลมอุตสาหกรรมของท่านเป็นไปอย่างที่ราบรื่น

การปฏิบัติตามเคล็ดลับเหล่านี้ คุณจะเพิ่มความสะดวกสบายโดยรวม และช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานอีกด้วย ไม่ว่าคุณจะติดตั้งพัดลมในคลังสินค้า โรงงานผลิต หรือโรงงานอุตสาหกรรมใดๆ บทความในเว็ปไซด์นี้จะให้ความรู้ที่จำเป็นเพื่อให้การติดตั้งพัดลมอุตสาหกรรมไม่ยุ่งยาก เตรียมพร้อมยกระดับพื้นที่ทำงานของคุณไปอีกระดับด้วยเคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ 

วิธีการเปลี่ยนสายพาน พัดลมฟาร์ม พัดลมโรงงาน ยูโรคลู

เปลี่ยนสายพานพัดลมโรงงานไม่ยากอย่างที่คิด?


วิธีถอดเปลี่ยนสายพาน วิธีถอด 1.ถอดฝาปิดด้านหน้าออกจากโครง 2.ใช้ปลายไขขวงค่อยๆแกะสายพานจากฝั่งมอเตอร์ก่อน 3.ค่อยๆนำสายพานถอดออกจากด้านหลัง วิธีใส่ 1.ค่อยๆใส่สายพานอ้อมจากใบพัดด้านหลังในร่องสายพาน และใส่สายพานในร่องมูเลย์มอเตอร์ 2.เช็คความตึงสายพานให้พอดีทั้งสองฝั่ง 3.ยึดน๊อตที่ขายึดมอเตอร์ให้เรียบร้อย 4.ใส่ฝาปิดโครงพัดลมให้เรียบร้อย

การติดตั้งพัดลม ยูโรคลู ทำได้อย่างไร

ติดตั้งพัดลมทำอย่างไรดี


ติดตั้งพัดลมอุตสาหกรรม ทำอย่างไรดี เรามีคลิปวีดีโอและคู่มือการติดตั้งง่ายๆ สำหรับลูกค้าเพื่อความปลอดภัยและความถูกต้องในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งสายพัดลม การประกอบพัดลมอุตสาหกรรม พัดลมไอเย็น และ พัดลมยักษ์ เบื้องต้น นอกจากนี้เรายังมีบริการให้คำปรึกษางานติดตั้งและทีมงานรับติดตั้งอีกด้วย


ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมพื้นที่สำหรับการติดตั้งพัดลมอุตสาหกรรม

ก่อนที่เราจะทำการติดตั้งพัดลมอุตสาหกรรม สิ่งสำคัญคือต้องเตรียมพื้นที่เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการติดตั้งพัดลมอุตสากรรมจะราบรื่นและมีประสิทธิภาพ การใช้เวลาเตรียมตัวไม่เพียงแต่จะช่วยประหยัดเวลาและพลังงานของคุณเท่านั้น แต่ยังช่วยให้พัดลมอุตสาหกรรม ของคุณมีทนทานและมีประสิทธิภาพอีกด้วย ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติเมื่อเตรียมการติดตั้ง: 1. เคลียร์พื้นที่ในการติดตั้ง นำสิ่งกีดขวางออกจากบริเวณที่จะติดตั้งพัดลมอุตสหกรรม ซึ่งรวมถึงการเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ หรือสิ่งของอื่นใดที่อาจขัดขวางกระบวนการติดตั้งหรือกีดขวางการไหลเวียนของอากาศ การเคลียร์พื้นที่จะทำให้มีพื้นที่สะอาดและเข้าถึงได้สำหรับการติดตั้งได้ง่าย 2. ตรวจสอบการเชื่อมต่อไฟฟ้า ตรวจสอบให้แน่ใจว่าการเชื่อมต่อไฟฟ้าในพื้นที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งพัดลมอุตสาหกรรม ปรึกษาช่างไฟฟ้าหากจำเป็นเพื่อประเมินแหล่งจ่ายไฟ สายไฟ และข้อกำหนดทางไฟฟ้าเพิ่มเติม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีวงจรเฉพาะสำหรับพัดลมอุตสาหกรรมของคุณเพื่อหลีกเลี่ยงการโอเวอร์โหลดระบบไฟฟ้าที่มีอยู่ 3. ประเมินพื้นผิวในการติดตั้งพัดลม ตรวจสอบพื้นผิวติดตั้งที่จะติดตั้งพัดลมอุสาหกรรม ต้องแน่ใจว่ามีความแข็งแรง มั่นคง และสามารถรองรับน้ำหนักของพัดลมอุสาหกรรมที่หนักกว่าพัดลมทั่วไปได้ คุณอาจต้องเสริมพื้นผิวการติดตั้งด้วยวัสดุแข็งแรงเช่นเโครงหล็กเพื่อให้แน่ใจว่าติดตั้งได้อย่างปลอดภัย ศึกษาหลักเกณฑ์ของผู้ผลิตสำหรับข้อกำหนดเฉพาะ 4. รวบรวมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็น ก่อนเริ่มกระบวนการติดตั้ง ให้รวบรวมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นทั้งหมด ซึ่งอาจรวมถึงสกรู พุก ขายึด หรือส่วนประกอบเพิ่มเติมใดๆ ที่จำเป็นสำหรับการติดตั้งพัดลมอุสาหกรรมเฉพาะของคุณ การเตรียมทุกอย่างไว้ล่วงหน้าจะช่วยประหยัดเวลาและป้องกันความล่าช้าในการติดตั้ง ด้วยการทำตามขั้นตอนเหล่านี้และเตรียมพื้นที่อย่างเหมาะสม คุณสามารถรับประกันว่ากระบวนการติดตั้งสำหรับพัดลมอุตสาหกรรมของคุณจะราบรื่นและมีประสิทธิภาพ การเตรียมการที่เหมาะสมจะวางรากฐานสำหรับระบบพัดลมอุสาหกรรมที่ทำงานได้ดี และช่วยเพิ่มความสะดวกสบายและประสิทธิผลโดยรวมของพื้นที่ทำงานของคุณ